ความนิยมของรถซูเปอร์คาร์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

01

ความนิยมของรถซูเปอร์ คาร์ ในอดีตลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ แต่ในช่วงหลังพบว่า ลูกค้าที่ซื้อรถมาจาก “หัวเมืองใหญ่” ทำให้สัดส่วนการขายต่างจังหวัดคิดเป็นราว 10 % ของยอด และกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศจากเดิมจะมีเพียงจังหวัดภูเก็ตและเชียงใหม่ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ตลาดกระจายตัว แสดงให้เห็นว่าศูนย์รวมการค้าขายกระจายสู่หัวเมืองมากขึ้น สอดรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปลายปี 2558

ส่วนภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อของลูกค้าซูเปอร์ คาร์ เพราะผู้ซื้อเฟอร์รารี่ คือบรรดานักธุรกิจอันดับต้นๆของเมืองไทย คนกลุ่มนี้เป็นคนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เขาไม่ได้หยุดทำธุรกิจ เศรษฐกิจไทยยังคงเดินหน้า กำลังการซื้อไม่ได้ตก ยกเว้นในช่วง “น้ำท่วมใหญ่” เมื่อปลายปี 2554 ที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก เฟอร์รานี่เองต้องปิดโชว์รูมในช่วงนั้นด้วย

นอกจากนี้ ปัจจัยทางอ้อมที่จะส่งผลดีต่อการเติบโตของซูเปอร์ คาร์ คือ การที่ไทยมีสนามแข่งรถมาตรฐานโลกเปิดขึ้นใหม่ เช่นที่บุรีรัมย์และคาดว่าจะมีสนามอื่นๆ เกิดขึ้นในภาคกลาง และภาคใต้ อีกปัจจัยเรื่องสนามแข่งรถมีส่วนที่เป็นผลดีต่อซูเปอร์ คาร์ เพราะ เฟอร์รารี่ ดีเอ็นเอ คือ รถที่มาจากฟอร์มูล่า วัน การทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การทดสอบรถ การอบรมการขับขี่ จะสามารถทำได้ เพราะ ที่ผ่านมาไทยยังไม่มีสนามที่รองรับกิจกรรมเหล่านี้ ทำให้เฟอร์รารี่ ไม่สามารถจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นในเมืองไทยได้เลยหากลูกค้าจะร่วมกิจกรรม ต้องเดินทาง ไปทำกิจกรรมที่ต่างประเทศ

แลมโบร์กินี ในฐานะผู้นำตลาดได้ลงทุนโชว์รูมขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจและแสดงศักยภาพของแบรนด์แลมโบร์กินี ให้ผู้ซื้อรถระดับไฮเอนด์เกิดความเชื่อมั่น สำหรับพื้นที่ของโชว์รูมได้เตรียมการบริการ ไว้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น สถานที่รับรองลูกค้าในระดับ วีไอพี พื้นที่จัดจำหน่ายสินค้าคอลเลคชั่นของแลมโบร์กินี ที่มีทั้งเสื้อผ้าและอุปกรณ์ตกแต่งให้เลือกชม ศูนย์บริการหลังการขาย ซึ่งจะเป็นศูนย์บริการงานขายและบริการหลังการขาย ที่มีศักยภาพสูงทั้งช่างเทคนิคและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึง มีสถานีบริการน้ำมันอยู่ภายในเพื่อบริการเชื้อเพลิงสำหรับซูเปอร์คาร์ และมีลานเฮลิคอปเตอร์ เฉพาะ เพื่ออำนวยความสะดวกลูกค้า กรณีเดินทางมาโดยเครื่องบินส่วนตัว